- Bootloader พูดง่ายๆก็คือ
การโปรแกรมตัวเองโดยไม่ต้องใช้เครื่องโปรแกรมครับ โดยผ่านช่องสื่อสารต่างๆ เช่น RS232,USB,Printer Port
ขึ้นอยู่กับทรัพยากรณ์ที่มีอยู่ในชิพตัวนั้น ช่วงหลังๆนิยมใช้ USB เพราะคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักไม่มี comport กับ printer port แล้ว
ถึงแม้ว่า USB จะสามารถทำเป็นพอร์ตเสมือน comport ได้ แต่ก็ต้องมีอุปกรณ์แปลงครับ
- การที่ PC จะมองเห็นชิพนั้นได้ ตอนเสียบ USB นั้นชิพจะต้องแสดงตน(เหมือนกับการลงทะเบียน) และส่งค่า HID เป็นรหัสประจำตัวอุปกรณ์ ซึ่งทาง Microchip ก็ได้เตรียมวิธีการและ driver ไว้ให้แล้วครับ
- ส่วนการใช้งาน Bootloader บนบอร์ด ก็ต้องออกแบบให้มีปุ่มกด เพื่อใช้ในการโปรแกรม คู่กับโปรแกรมบน PC โหลด HEX ไฟล์ (โปรแกรมที่ผ่านการ คอมไพล์แล้ว)ผ่าน USB หรือ RS232
- แต่ในช่วงแรกก็ต้องใช้ตัวโปรแกรมอยู่ดีครับ และต้องมีสำลองไว้ เพราะ Bootloader บ้างครั้งโปรแกรมไม่ผ่าน ต้องถอดชิพมาโปรแรมใหม่ ซึ่งตัวโปรแกรมก็อาจทำไว้แบบง่ายๆ อย่างเช่นของ JDM เค้า
http://www.thaimicrotron.com/PROPIC/JDM/SerialProg.htm- และ Bootloader ก็ต้องเสียโค็ดบางส่วนประมาณ 2K ทำให้ไม่เหมาะกับชิพเล็กๆ และไม่สามารถศึกษาชิพเบอร์อื่นๆได้
- ในระยะยาวผมว่าใช้ตัวโปรแกรมดีกว่าครับ เพราะการใช้งานก็ไม่ยาก สามารถศึกษาได้หลายเบอร์ ส่วน propicusb (PICKit2 Lite) ที่ทาง Thaimicrotron ได้ลงไว้ ก็เป็นรุ่นประหยัดครับ สามารถทำเองได้ง่าย โครงงานนี้เกิดขึ้นจาก SIPA (สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ) ได้เปิดอบรมอาจารย์ ที่สอนเกี่ยวกับไมโครฯ ทั่วประเทศ ที่ ม.เกษตร มีอาจารย์หลายท่านบอกว่า ตัวโปรแกรมชิพมีราคาแพง แล้วต้องใช้จำนวนมากๆ 30-50 ชุด แต่ละเทอมต้องซื้อใหม่เป็นประจำ เพราะถ้าไม่หายก็เสีย ไม่มีผู้ดูแล อยากให้ น.ศ. ทำไว้เป็นของตัวเองและใช้จนจบการศึกษาเลย จะได้ฝึกประสพการณ์ ในการบักรี และทำ PCB ไปด้วย