Pages: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 19   Go Down
Print
Author Topic: เกี่ยวกับ Ac power line x-10  (Read 260497 times)
0 Members and 24 Guests are viewing this topic.
smitdh
Administrator
Hero Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 381


อาจารย์ที่ปรึกษา


« Reply #90 on: July 27, 2009, 09:29:59 AM »

จากคุณสมบัติที่กล่าวมา เป็นคุณสมบัติของเซนเซอร์ครับ จะต้องใช้ไมโครฯ แปลงเป็นข้อมูลก่อนครับ
แล้วจึงนำข้อมูลนั้นมาส่งอีกทีหนึ่ง อย่างเช่น

http://www.thaimicrotron.com/PIC/CCS/SHT15/SHT15.htm#test
Logged
plom
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 49


Email
« Reply #91 on: July 29, 2009, 05:11:57 PM »

จากตัวอย่างโปรแกรมของเซนเซอร์ตัวนี้ นำไปใช้ได้เลยรึป่าวครับ สัญญาณสามารถนำไปส่งผ่านบอร์ดx10-labได้เลยรึป่าวครับขอบคุณครับ
Logged
smitdh
Administrator
Hero Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 381


อาจารย์ที่ปรึกษา


« Reply #92 on: July 30, 2009, 09:47:53 AM »

เมื่อดูจากโครงสร้างของโครงงานแล้วพอจะสรุปขั้นตอนได้ดังนี้ครับ

1). ศึกษาการทำงานของ เซนเซอร์  และใช้ไมโครฯ แปลงเป็นข้อมูล โดยขั้นแรก อาจส่งข้อมูล ไปยัง PC ผ่าน RS232 ก่อน
2). สร้างอุปกรณ์ที่ใช้สื่อสารบน AC Line (อย่างเช่น X10-Lab) 1คู่ โดยปรับความถี่ให้ตรงกัน
     - โครงสร้างของ Hardware X10-Lab เป็นพื้นฐานของการ รับ-ส่งข้อมูลบน AC-Line สามารถนำไปใช้กับ โปรโตคอลใดๆก็ได้ แต่ผู้ใช้ควรจะมีความรู้มาบ้าง
3). ใช้รูปแบบโปรโตคอลของ X10
     - ตัวส่ง ส่งข้อมูลจากข้อ 1 โดยใช้ใช้ ฟังชั่นของ X10 เช่น  Extended Code (ผมเองก็ยังไม่เคยลอง)
     - ตัวรับ รับข้อมูล แล้วนำไปแสดงผล
4). สร้างโปรโตคอล ขึ้นมาเอง โดยสร้างฟังชั่นในการ รับ-ส่ง ข้อมูลขึ้นมาใหม่ ตามโครงสร้างและขนาดที่ออกแบบไว้
Logged
plom
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 49


Email
« Reply #93 on: August 15, 2009, 07:15:57 PM »

สวัดดีครับ
Logged
coldman
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 10


Email
« Reply #94 on: August 20, 2009, 08:24:30 AM »

สวัสดีครับ..พี่สมิธ   

- ถ้าผมจะใช้บอร์ด dsPIC ตัวนี้ http://www.etteam.com/product/pic/ET-dsPIC33WEB-V1_P-ET-A-00348.html  เป็นตัวควบคุมได้รึป่าวคับ  พอดีว่าผมต้องการให้ควบคุมผ่าน internet อ่าคับ  (ที่ต้องใช้บอร์ดนี้ เพราะว่าผมทำโปรเจคเกี่ยวกับการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน โดยควบคุมผ่านทางinternet อ่าคับ)

 - ความถี่พัล ต้องประมาณเท่าไรอ่าคับ ที่จะใส่ในสัญญาณ sin ได้

...ขอบคุณครับ
   
Logged
smitdh
Administrator
Hero Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 381


อาจารย์ที่ปรึกษา


« Reply #95 on: August 20, 2009, 04:39:24 PM »

น่าจะใช้ dsPIC33WEB-V1 เป็น master แล้วติดต่อผ่าน RS232 มายังโมดูล X10-LAB ดีกว่าครับ
ไม่ต้องเขียนใหม่ทั้งหมด
http://www.thaimicrotron.com/X10/X10LAB/X10Demo2.htm

ความถี่ที่ใช้เป็นคลื่นพาหะบน AC-Line เค้าทดสอบแล้วว่าอยู่ระหว่าง 100K-300K ครับ แล้วใช้ 50 Hz เป็น clock
หากสูงไปกว่านี้สัญญาณจะไปได้ไม่ไกลครับ
ส่วน X10 จะใช้ 120K ครับ
Logged
coldman
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 10


Email
« Reply #96 on: August 24, 2009, 04:42:49 PM »

ขอบคุณคับพี่ ที่ช่วยตอบ... แต่ผมยังมีปัญหาอยุ่เยอะเลย  แล้วผมจะค่อยๆ ถามพี่ไปนะคับ  (แบบว่าโง่มากคับ- -")

Logged
coldman
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 10


Email
« Reply #97 on: August 29, 2009, 06:55:04 PM »

- ที่ขา C ของ Q1 ผมวัดความถี่ได้ 120kHz.  Vp-p ประมาณ 24 กว่าๆ   Vrms ประมาณ 8 กว่า  ไม่ทราบถูกต้องป่าวคับ
 
- ผมทำตัวรับตัวส่งแล้ว ลองส่งสัญญาณพัล ที่ได้จากวงจรไฟกระพริบ IC 555 ผ่านสาย AC-line 

ผลที่ได้คือที่ตัวรับสามารถรับสัญญาณได้ และไฟกระพริบคับ แต่ตัวทรานซิสเตอร์ 2SD667A มันร้อนมากคับ (ควันขึ้น พังไปเลย) ผมลองเปลี่ยนเป็นเบอร์ 2N5551 ก็ยังร้อนคับ แต่มันยังทนได้ดีกว่า 2SD667A

ส่วนเรื่องการปรับค่า VR1 ผมต้องหมุนปรับไปทางขา 1 ที่ต่อกับขาฺB ของQ2 เกือบจะสุดเลยอ่าคับ มันถึงจะส่งได้(ที่ตัวรับ ไฟกระพริบชัดเจน)
มันก็เลยทำให้ทรานซิสเตอร์ร้อนมาก

ที่ผมทดลองมานี้พอจะใช้ได้มั้ยคับ  แล้วต้องแก้ปัญหาเรื่องทรานซิสเตอร์ที่ร้อนอย่างไรดีคับ...
Logged
smitdh
Administrator
Hero Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 381


อาจารย์ที่ปรึกษา


« Reply #98 on: September 02, 2009, 01:33:26 AM »

ต้องขอโทษคุณ coldman ด้วยครับที่ตอบช้า เพราะติดงานนะครับ
- ให้ข้อมูลน้อยไปหน่อยครับ คุณ coldman ได้ต่อวงจรตามที่ web ได้ลงไว้ (X10-LAB) และโปรแกรม PIC เสร็จแล้วใช่ไหมครับ ส่วนตัวลูกใช้อะไรครับ หรือว่าต่อไว้ 2 ตัว
- แล้วการต่อวงจรต่ออย่างไรต่อลงโปรโตบอร์ด หรือว่าทำ PCB
- ที่ว่าไฟกระพริบนั้นคือ LED ที่ต่อกับขา RB5 ใช่หรือเปล่าครับ
- แล้วที่ว่า ใช้ IC 555 ส่งพัลซ์ นั้นต่ออย่างไรครับ



- จากรูป ความถี่ 120 KHz จะออกจากขา C ของ Q1 ผ่าน C 103 และ R2K2 (คับปลิ้ง) ไปยังขา B ของ Q2 โดยมี VR 100K เพื่อปรับระดับแรงดัน โดยปกติจะปรับไปที่ขา 1 จนสุด(แรงที่สุด) ยกเว้นเมื่อต้องการให้ ส่งสํญญาณ อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับแต่ง ภาครับตัวอื่น และเพื่อเป็นการต่อขา B ของ Q2 ลงกราวน์ เพื่อป้องกันไม่ให้ ขา B ของ Q1 ลอยในขณะที่ OSC ไม่ทำงาน

ไม่ทราบว่าคุณ coldman ได้อ่านการปรับแต่ง  แล้วกระแสวัดที่จุด J2 ได้เท่าไรครับ
http://www.thaimicrotron.com/X10/X10LAB/X10Lab3.htm#TXADJ

- สัญญาณที่ขา C ของ Q2 เป็นอย่างไรครับวัดหรือยัง
- ทรานซิสเตอร์ 2SD667A จะทนแรงดันได้ 80V และกระแสไม่เกิน 1 A ครับ
- Zener 68V ที่ต่อไว่ที่ขา C กับกราวน์ ก็เพื่อป้องกันแรงดันเกิน
- R 2R2 ต่อไว้ที่ขา E ของ Q2 ก็เพื่อป้อนกลับ ป้องกันไม่ให้กระแสสูงเกินไป

จากรูปค่าที่วัดได้ที่ขาต่างๆ เมื่อปรับคอยล์ ต่ำสุด และสูงสุด โดยจะมีอัตราส่วน 9:1
* เหตุที่ Q2 ไหม้อาจเกิดจาก
- ค่า coil ต่ำเกินไป (กระแสเกิน) ค่าที่ขา 1,3 จะมีค่าประมาณ 700UH และที่ขา 4,5 จะมีค่าประมาณ 80UH
- ปกติแล้ว OSC จะทำงานช่วงสั้นๆ ไม่ทราบว่าคุณ coldman jump  J1 ไว้หรือครับ
- แล้ว R 2R2 ต่อไว้ที่ขา E ของ Q2 น่าจะไหม้และขาดไปก่อนที่ Q2 จะเสียครับ งงเหมือนกัน

Logged
coldman
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 10


Email
« Reply #99 on: September 03, 2009, 01:25:16 AM »

ขอบคุณพี่มากคับที่ช่วยตอบคำถามผม...
เริ่มด้วยเรื่อง การทดลองส่งสัญญาณไฟกระพริบนะคับ....เพื่อทดลองวงจรดูว่าสามารถส่งสัญญาณผ่าน AC Line ได้มั้ย?

- ก็มีวงจรภาครับ ภาคส่ง และภาคจ่ายไฟอย่างละชุด (ยังไม่ได้ใช้ภาคควบคุม) ต่อลงโฟรโตบอร์ด ปรับแต่งวงจรได้ตามที่พี่ให้มาเรียบร้อย
- ใช้สัญญาณพัลที่ได้จากวงจรไฟกระพริบ(IC555) เป็นอินพุทเข้าที่ขา 1 ของ PC817 หรือตำแหน่ง RB0 อ่าคับ
- แล้วก็ลองส่งไปยังภาครับดู ระยะห่างของปลั๊คที่เสียบประมาณ 10 เมตรคับ แล้วปรับ VR 100k ไว้ที่กลางๆ ก็ส่งกันได้แล้วคับที่ภาครับไฟกระพริบชัดเจน...(ต่อ LED ไว้ที่ขา 6 ของ 4069)
- แต่ในตอนแรกต้องปรับ R 100k ไปจนสุดขา 1 เลยคับไฟที่ภาครับถึงจะกระพริบ แต่พอใส่ C9 ที่พี่โพสรูปให้ใหม่ ก็เลยปรับ R 100kไว้ที่กลางๆ ก็ส่งได้แล้ว (ไม่รู้จะเกี่ยวกันป่าว - -")  ส่วนทรานซิสเตอร์ 2SD667A หรือ 2N5551 ที่ผมใช้อยู่ตอนนี้มันก็เลยไม่ร้อน ถ้าไม่ปรับ R 100k ไปจนสุดขา 1 ...

ที่ทดลองอยู่มีเท่านี้แระคับ ไม่รุ้ว่ามาถูกทางรึป่าว...ตอนนี้ก็กำลังลุยในส่วนของภาคควบคุมแล้วคับ สรุปแล้วผมต้องใช้ dsPIC มาแทน PIC ในส่วนควบคุมภาคส่งอ่าคับ แต่ภาครับยังใช้ PIC เหมือนเดิม... ส่วนเรื่อง code นั้นผมคิดว่าถ้าแก้ในส่วนของขาสัญญาณให้มันตรงกับขา dsPIC ได้ code ก็น่าจะยังใช้ได้อยู่ใช่มั้ยคับ  หรือว่าผมต้องเขียนใหม่ทั้งหมด

--- ปกติ J1 จะไม่ได้ jump ไว้ใช่มั้ยคับ มีแต่ J2 เท่าั้นั้นที่ jump ---

Logged
smitdh
Administrator
Hero Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 381


อาจารย์ที่ปรึกษา


« Reply #100 on: September 03, 2009, 11:52:04 AM »

- การปรับแต่งนั้นสามารถ short J1 ได้เลยครับ(แต่ต้องไม่นานนัก) เพราะเวลาจูน จะได้สังเกตง่าย
- แล้ว R 2R2 ต่อไว้ที่ขา E ของ Q2 ไม่ควรใช้ watt สูงเกินไปครับ เพราะถ้าให้กระแสสูงและนานเกินไป มันจะขาดไปก่อนที่ Q2 จะเสีย
- เวลาใช้งาน VR 100k ปรับไปจนสุดเลย เพราะเราส่งคำสั่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ (3 sec) ต่อ1 คำสั่ง
- C9 ร่วมกับ R5 เป็น High pass ครับ (จำเป็นครับ)
- ส่วน code นั้นใช้ได้เหมือนเดิมครับ เพราะไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษ อะไรของ MCU ครับ แค่ include ใช้ถูกเบอร์ก็แล้วกัน
Logged
coldman
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 10


Email
« Reply #101 on: September 14, 2009, 08:28:43 PM »

สวัสดีครับพี่สมิธ...

- ในภาคจ่ายไฟพี่เปลี่ยนรูปที่ -12,+12 เป็น -15,+15 มันจะเอาไปใช้ในส่วนไหนเหรอคับ  แล้วมันแตกต่างกันยังไงเหรอคับ
 
   แล้วผมก็ไม่ได้ใช้หม้อแปลง 12V อ่าคับเพราะค่าแรงดันที่ได้มันเกิน  ผมจึงใช้แค่ 9V ทำให้ได้แรงดัน -12,+12,-5,+5 พอดี


   
Logged
smitdh
Administrator
Hero Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 381


อาจารย์ที่ปรึกษา


« Reply #102 on: September 15, 2009, 02:33:09 AM »

จากรูป อาจจะดูยากหน่อยเพราะวงจรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สำหรับภาคจ่ายไฟก็คือ


ลองดูแบบภาพรวมนะครับ


- วัตถุประสงต์ เราต้องการแรงดัน 5V ให้กับ MCU ,15V ให้กับ OSC และ ,30V ให้กับ 120KHz Driver
- 12VAC (RMS) เมื่อแปลงเป็น VDC โดยผ่านไดโอดและตัวเก็บประจุ ต้องคูณด้วยรูท 2 จะได้ประมาณ 15V ครับ
- เหตุที่เราต้องใช้หม้อแปลง 12V-0-12V  เพื่อแปลงเป็น (+15)-GND-(-15)
- เราจะใช้ +15V - GND กับ Regulator 7805 เพื่อใช้กับ MCU หากใช้ 30V จะทำให้ Regulator ร้อนจัดครับ
-  ส่วนแรงดัน (+5)-GND-(-5) ใช้กับ Opamp เพื่อใช้ตรวจสอบ Zero Crossing
- GND-(-15V) มันก็ตือ  +15V จ่ายให้กับ OSC
-  (+15) (-15) มันก็ตือ  +30V ให้กับ 120KHz Driver ครับ

« Last Edit: September 16, 2009, 04:44:00 PM by smitdh » Logged
muiim
Jr. Member
**
Offline Offline

Posts: 67


Email
« Reply #103 on: September 15, 2009, 10:41:53 AM »

สวัสดีครับพี่ หลังจากหายไปนานเนื่องจากติดงานไม่มีเวลาลองทำ ตอนนี้ ผมทำเสร็จ 2 แต่มันติดต่อกันไม่ แต่ความถี่ที่วัดได้ก็ 120 kHz อยู่นะครับ แต่ไม่รู้ว่าจูนภาครับถูกรึป่าว เลยมีข้อสงสัยครับ ว่า ลาย PCB ตรงที่วงไว้ในรูป มันต้องติดกันรึป่าว มันเป็นตรง R ปรับค่าได้ 100k นะครับ


* 001.GIF (29.73 KB, 640x590 - viewed 2169 times.)
Logged
smitdh
Administrator
Hero Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 381


อาจารย์ที่ปรึกษา


« Reply #104 on: September 15, 2009, 08:42:50 PM »

ไม่ติดกันครับ สงสัยผมเพิ่มมาที่หลังว่าจะต่อ VR ย่ายไปไว้ที่หลังกล่องจะได้ไม่ต้องเปิดฝาบ่อยๆ เวลา test นะครับ
ขอบคุณครับ
Logged
Pages: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 19   Go Up
Print
 
Jump to: