วงจรนี้ผมยังไม่ได้ลองนะครับ แต่ก็น่าเชื่อถือเพราะมีหลายที่อ้างอิงถึงวงจรนี้
ผมจะวิเคราห์วงจรให้ดู คร่าวๆนะครับ
วงจรชาร์จจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือวงจรจำกัดกระแส และวงจรเปรียบเทียบแรงดัน
T2 มีหน้าทีขับ T1 เพื่อให้เกิดกระแสไหลออกทางขา E เพื่อชาร์จแบตเตอรี่
T3 +R1+R2 ทำหน้าที่จำกัดกระแส
โดยคำนวนได้จาก i=v/r
i = 0.6/2.2 = 270ma
v คือแรงดันที่ T3 เริ่มทำงานที่ 0.6 V
ส่วน WATT ของ R1 หาจาก P=IV = 0.6*270ma = 0.1W ดังนั้นใช้ 1/4W ก็พอ
IC1 (TL431 ) เป็น Shunt Regulator ทำหน้าที่เปรียบเทียบแรงดัน ที่ขา R กับแรงดันภายใน (
2.5V)
จากตัวอย่างเป็นวงจรชาร์จแบตแบบ Li-ion เมื่อเต็มจะมีแรงดัน Vfull = 4.2V
จากจงจรแบ่งแรงดัน R6 กับ R4+R5 และเราให้ R6 = 15K เราจะหา R4+R5 ได้จาก
แรงดันตกคร่อม R6 =
Vfull-Vref4.2 - 2.5 = 1.7V
ดังนั้นกระแสไหลผ่าน R6 = VR6/R6 = 1.7V/15K = 0.11ma
กระแสที่ไหลผ่าน R4+R5 จะเท่ากับ กระแสที่ไหลผ่าน R6 เนื่องจากมันอนุกรมกัน = 0.11ma
(R4+R5) = Vref/0.11ma = 2.5V/0.11ma = 22.72K
เมื่อเราให้ R4 = 22K ดังนั้น R5 = 22.72K-22K = 720 โอมห์
แต่ค่าที่มีขายที่ใกล้เคียงที่สุด = 680 โอมห์
ส่วนการที่ใช้ T4 ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ ต่อ R6 เข้ากับ R4 และขา R ของ IC1 จะ ON ก็ต่อเมื่อป้อนแรงดันอินพุต
เพื่อป้องกันไม่ให้แบตฯ คายประจุผ่าน R6,R4 ,R5 ลงกราวน์ เพราะเรามักจะเผลอต่อแบตฯ ไว้กับตัวชาร์จ แล้วถอดปล๊กไฟออก
ส่วน T5 จะแสดงสถานะการชาร์จ คือเมื่อ T1 on ที่ขา C ของ T1 แรงดันจะตก ทำให้ T5 ON
ผมคิดว่า T2,T3,T5 ใช้ BC557 แทนได้ครับ
ส่วน T1 ก็อาจจะใช้พวก 2SC1061,BD139
ส่วนแรงดันที่ป้อนให้วงจรก็ควรจะมากกว่า Vfull อย่างน้อย 1 V ครับ เช่น
สำหรับ Li-ion Vfull = 4.2 ดังนั้น แรงดันอินพุต =4.2+1 = 5.2V
ส่วนสำหรับของคุณ Ni-MH 8 cell เมื่อเต็ม = 1.5*8 = 12V แรงดันอินพุต = 12+1 = 13V
หากแรงดันอินพุตมากเกินไป T1 จะร้อนจัดครับ