Thaimicrotron.com : Home    
 
การตรวจไฟรั่วในน้ำ แบบสองจุด
 
     
        ลักษณะธรรมชาติของไฟฟ้าจะต้อง มี 2 ขั้วเสมอ ไฟฟ้ากระแสะสลับบ้านเรา มี 2 ขั้ว คิอ Line (L) กับ Neutral (N)    ขั้ว L คือขั้วที่ เมื่อนำไขควงตรวจไฟ มาตรวจไฟจะติดครับ ส่วน N จะไม่ติด และที่ขั้ว N นี่การไฟฟ้าจะต่อลงกราวน์ไว้ ทำให้ขั้ว L มีความต่างศักดิ์ 220V เมื่อเทียบกับกราวน์ด้วย เหตุที่มันดูดเรา ก็เพราะมันจะไหลผ่านเราลงกราวน์  
     
     
  ไฟรั่วลงน้ำมีอยู่ 2 ลักษณะครับ คือ  
 

1). ขั้ว L เส้นเดียวจมน้ำ แบบนี้จะอันตรายมาก รัศมีอันตรายจะอยู่ที่ประมาณ 3- 5 เมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้น กับประเภทของน้ำ การรั่วลักษณะนี้ มักจะรั่วสามารถตรวจได้ด้วย ไขควงตรวจไฟ (แต่ความสว่างก็ขี้นอยู่กับร้องเท้าที่เราใส่ หากเป็นยางอย่างดี ไฟก็อาจสว่างน้อย)

 
  2). น้ำท่วมปลั๊กไฟ    ทั้งขั้ว L และ N จะจมอยู่ในน้ำพร้อมกัน ไฟจะวิ่งจากขั้ว L ไป N ผ่านน้ำง่ายกว่า ที่จะมาดูดเรา ไฟรั่วลักษณะเช่นนี้จะมี รัศมีอันตราย ประมาณ 0.5 เมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้น กับประเภทของน้ำ การรั่วลักษณะนี้ ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยไขควงตรวจไฟ  
     
  หมายเหตุ: ระยะอันตรายที่ระบุอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม  
     
  ลักษณะของพื้น  
  - หากพื้นผิว ระหว่างเรากับจุดที่ไฟรั่วเป็นพื้นดิน(กราวน์) ทำให้ไฟลงกราวน์ได้ง่าย การแผ่กระจายของไฟฟ้าก็จะน้อยไปได้ไม่ไกล แต่ก็อันตรายมากที่สุด หากเราสัมผัสกับจุดที่ไฟรั่ว เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลลงกราวน์ได้ง่าย  
     
  ประเภทของน้ำ  
  - หากน้ำสะอาดการนำไฟฟ้าจะไม่ดีเท่าน้ำสกปรก  
  - น้ำอ่อนเช่นน้ำฝน จะน้ำไฟฟ้าไม่ดีเท่าน้ำกระด้างเช่นน้ำประปา  
     
  ลักษณะการแผ่กระจายของกระแสไฟฟ้า จากจุด 2 จุด และการทดสอบ  
     
 
 
 
ลักษณะการแผ่กระจายของกระแสไฟฟ้า จากจุด 2 จุด จากขั้ว L ไป ขั้ว N
 
     
  แนวกระแสไฟฟ้าที่อันตรายมากที่สุด จะอยู่ระหว่างขั้ว L กับขั้ว N และจะค่อยๆ อ่อนลงเมื่อแนวระยะเบี่ยงเบน และไกลออกไป  
     
 
 
 
ต่ำแหน่งการวัดด้วยมิเตอร์วัดแรงดัน AC
 
     
  - การ วัดแรงดัน ด้วยมิเตอร์วัดแรงดัน โดยปรับย่านการวัดไปที่ 10VAC และให้ปลายสาย วัดอยู่ในแนวเดียวกันกับขั้วไฟฟ้า โดยให้มีระยะเท่ากับ หรือห่างกว่า ขั้วไฟฟ้านั้นเล็กน้อย แรงดันที่วันได้จะอยู่ในช่วง 1-10VAC จากด้านนอกเข้าด้านใน
 
  - ถึงแม้ว่าระดับแรงดันที่วัดได้ไม่สูงมาก แต่บริเวณใกล้ๆ ระวังขั้วทั้งสอง ก็อันตรายมาก หากไปถูกหรือไปสัมผัสขั้วไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าอาจเบี่ยงเบน ไม่ผ่านน้ำ มาผ่านร่างกายเราก็จะทำให้เกินอันตรายได้  
     
     
  การทดลอง การทดสอบกระแสไฟฟ้ารั่วในน้ำแบบ 2 จุด  
 
     
  คำเตือนการทดลองนี้ อาจเป็นอันตราย ขอให้ทดลองด้วยความระมัดระวัง  
  ผู้ที่ไม่มีความชำนาญ ไม่ควรทดลองตามลำพัง  
  การทดลองนี้ศึกษาขึ้นเพื่อหาข้อมูล ที่ใช้ในการตรวจสอบ เด็กๆ และเยาวชน ไม่ควรนำมาทดลองเอง โดยเด็ดขาด เพราะทักษะในการ ระมัดมะวัง อาจยังมีไม่มากพอ  
 
     
 
     
     
  การทำเครื่องมือในการวัดและทดสอบ  
  ทำชุดเครื่องมือทดสอบ เพื่อหาอุปกรณ์ในการตรวจสอบกระแสไฟ  
     
 
 
 
ตัดแผ่น PCB ขนาด 1.5cm x 3.5cm
แล้วใช้คุตเตอร์ขูดตรงกลางให้ ทองแดงขาดจากกัน
 
 
 
 
แล้วเจะรู 2 รูเพื่อบัดกรีใส่คอนเนคเตอร์ IDC แบบ 2 pin
 
     
 
 
 
ตัดแผ่น PCB อีก 2 แผ่น ขนาด 1.5cm x 7.5cm
แล้วบัดกรีด้านทองแดงทั้งสองด้านดังรูป เพื่อเป็นแผ่นแพลต
(ขนาดของแผ่นแพลต หากเล็กไปจะมีพื้นที่ผิวไม่มากพอ)
 
     
     
 
 
 
นำโฟมมาติดเพื่อให้ลอยน้ำได้
และหลอด LED มาใช้ทดสอบ
 
     
     
 
 
 
รูปด้านข้าง
 
     
     
 
 
 
การทดสอบให้ต่ออนุกรมกับหลอดไฟขนาด 5 W
และสวิทช์ตัดต่อไฟทั้งสองเส้นเพื่อป้องกันอันตราย
 
     
 
     
   
     
 
 
     
 
 
 
จากการทดสอบเมื่อแพลตอยู่ในแนวเดียวกับขั้วไฟฟ้าจะทำให้ LED ติดสว่าง
แต่เมื่อแผ่นแพลตหมุนไปในแนวตั้งฉาก จะทำให้ LED ดับ
 
     
  - LED ที่ใช้ทดสอบ หากเป็น LED สีฟ้า หรือ LED ไฟฉาย จะสว่างเห็นได้ชัด  
  - ระยะห่างจากขั้วไฟฟ้าในน้ำประมาณ 2 นิ้ว  
     
  การทดสอบด้วย Piezo Oscilator  
 
 
 
บัดกรีต่อขา Piezo Oscilator เพื่อทดสอบ
 
  Piezo Oscilator เป็น Buzzer แบบ Piezo ที่มีวงจร Oscilator ในตัว สามารถทำงานได้ตั้งแต่ 1-18V  
 
     
     
     
 
     
  - จากแนวคิดทั้งสอง ทำ PCB แพลต มาติดไว้ที่ปลายทั้งสอง ของไม้หยิบของ เนื่องจาก สามารถใช้ไม้หยิบของเคลื่อนย้าย ของที่น่าส่งสัยที่จมน้ำอยู่ แล้วยังสามารถ ใช้ตรวจสอบปลั๊กไฟไปในตัวด้วย
- ไม่ควรนำอุปกรณ์ ไปแย่ที่ปลั๊กไฟโดยตรง เพราะตัวอุปกรณ์ ยังไม่มีส่วนป้องกันระดับแรงดันเกิน ซึ่งถ้าอุปกรณ์เสียหาย ก็ไม่ทำให้เกิด อันตรายมาถึงผู้ใช้ แต่อย่างใด
 
 
 
 
การติด PCB แพลต และ LED
ครอบด้วย ตัวกระจายแสงที่นำมาจาก หลอดไฟหน้าปัด 12 V
 
     
 
 
 
ส่วน Piezo Oscilator ต่อสายไฟมาติดไว้ที่ใกล้ๆด้าม เพราะมันไม่กันน้ำ
 
     
  โครงงานนี้เป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ใช้หาอุปกรณ์มาสร้างได้โดยง่ายไม่ซับซ้อน และเป็นข้อมูลเพื่อไว้พัฒนาต่อ  
     
  เครื่องตรวจไฟ AC แบบไม่สัมผัส  
 
 
     
     
 
     
  SMITDH EMSOMBAT ศมิทธิ์ เอมสมบัติ
     
 
 
ศมิทธิ์ เอมสมบัติ