Thaimicrotron.com : Home    
 
เครื่องตรวจไฟ AC แบบไม่สัมผัส
Non Contact AC Voltage Detector
 
     
 
 
 
การตรวจสอบแรงดันกระแสสลับ โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรง
 
     
 
 
 
เครื่องตรวจไฟ AC แบบไม่สัมผัส
 
 
Non Contact AC Voltage Detector
 
     
 
 
 
 วงจร เครื่องตรวจไฟ AC แบบไม่สัมผัส
Non Contact AC Voltage Detector circuit
 
     
  คุณสมบัติของวงจร  
  - ใช้ตรวจสอบแรงดัน AC แบบไม่สัมผัส โดยแสดงการตรวจพบแรงดันด้วย LED และส่งเสียงออกทางลำโพงแบบเปียโซ (Piezo)
- ใช้ตรวจสอบความต่อเนื่องได้ เช่น สวิทช์, ฟิวส์, หลอดไฟ, ขดลวดไฟฟ้า
- ใช้ IC ประเภท High-Speed cmos74HC14 ซึ่งสามารถใช้งานที่ระดับแรงดัน 3 V ได้ และใช้พลังงานต่ำ จึงสามารถใช้แบตเตอรี แบบกระดุม 2 ก้อน หรือ แบบลิเธียม(ขนาดเท่าเหรียญ 10)เบอร์ 2032
 
 
     
     
  คำเตือนไม่ควรนำปลายโพร้บที่ไม่หุ้มฉนวนไปสัมผัส กับปลั๊กไฟโดยตรง  
     
 
     
 
     
  หลักการทำงานของวงจร  
 

- 74HC14 เป็น IC แบบ schmitt trigger ทำหน้าที่แปลงแรงดันอนาล็อก เป็นระดับดิจิตอล เมื่อมีแรงดันเข้ามาทางโพร้บ TP1 ผ่าน R1 เข้าสู่อินพุตของ U1-a D1ทำหน้าที่กรองแรงดันช่วงลบ ของอินพุตให้ผ่านลงกราวน์ ให้เหลือแต่ระดับแรงดันไฟบวกเท่านั้น
- C3 มีค่าน้อยๆ 5PF บางครั้งหากต่อ โพร้บยาวมากๆ อาจต้องใช้สายชิลด์ เป็นค่าประจุที่เกิดจากชิลด์ หรือการน้ำสายไฟที่ต่อจากกราวน์ มาพันไว้ที่โพร้บ (ดูในหัวข้อถัดไป) จะทำหน้าที่กรองแรงดันเล็กๆที่เข้ามา เพื่อไม่ให้วงจรไวเกินไป จนทำงานขึ้นมาเอง ค่าของ C3 นี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อยู่ในช่วง 5-20PF
- R2 ทำหน้าที่ pull up อินพุตของ U1-f ขณะที่ไม่มีแรงดันอินพุตเข้ามา
- U1-e มีหน้าที่ควบคุม LED และ เปิด-ปิดการทำงานของ ออสซิลเลเตอร์ (U1-b), R4 ทำหน้าที่ pull down อินพุตของ U1-e ขณะที่ไม่มีแรงดันอินพุตเข้ามา, C1 ทำหน้าที่กรองระดับสัญญาณที่เข้ามาให้เรียบ ขึ้นเพื่อที่ ให้ U1-e ควบคุมออสซิลเลเตอร์ โดยที่เสียงไม่สั่นเครื่อ
- U1-b ,R6 ,C2 ทำหน้าที่เป็นออสซิลเลเตอร์ เอาต์พุตของวงจรที่ออกทางขา 4 ผ่าน U1-c,U1-d ทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ขยายกระแสเพื่อขับ SPK1 ซึ่งเป็นลำโพง แบบเปียโซ

- เมื่อมีแรงดันซีกบวกเข้ามาที่อินพุต TP1 เอาต์พุตของ U1-a จะเป็น "0" ,มีผลให้ เอาต์พุตของ U1-f เป็น "1" ผ่าน D2, R3 เข้าสู่อินพุตของ U1-e ดังนั้นเอาต์พุตที่ขา 10 ของ U1-e จึง เป็น "0" ทำให้ LED1 ติดสว่าง และ ออสซิลเลเตอร์ (U1-b) ทำงาน

 

 
     
     
  Download  
 
     
  PCB positive
     
 
     
  PCB Negative
     
 
     
  PCB Top Overlay color
     
 
     
  PCB Top Overlay
     
 
     
  PCB Protel file
     
 
 
     
  Componentlist
     
 
     
 
     
 
 
  การประกอบ  
 
 
 
นำ PCB Top Overlay color มาปริ้น
แล้วตัดให้พอดีกับ PCB
ใช้เข็มหมุดเจาะรูที่กระดาษ 4 รูตามมุม
เจาะรู PCB ตามที่เจาะนำไว้บนกระดาษ
 
     
 
 
 
แล้วติดด้วยกาวแท่งติดกระดาษ (Gule stick)
อาจใช้นิ้วมือแตะน้ำทาที่ PCB เล็กน้อยเพื่อให้กระดาษเลื่อนได้
ตอนกาวยังไม่แห้ง ให้เลื่อนให้ตรงกับตำแหน่ง ที่เจาะไว้บนกระดาษ
โดยใช้เข็มหมุดเสียบไว้ ให้ตรงกัน
ใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้แห้ง แล้วนำไปพ่นด้วยเคลียร์ อีกที่หนึ่ง
เพื่อเคลือบให้แข็งและไม่เลอะเทอะ เมื่อโดนน้ำ
เมื่อแห้งแล้ว ค่อยน้ำไปเจาะรูที่เหลือให้หมด
 
     
 
 
 
ประกอบอุปกรณ์ต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
 
 
 
 
ใช้สายไฟบัดกรีต่อขาลำโพงเปียโซ
 
 
 
 
แล้วบัดกรีลำโพงเปียโซดังรูป
 
     
 
 
 
PCB ด้านล่าง
 
 
การบัดกรี C3 และสาย Jump IC ขา 9 กับ 5 และขา 8 กับ 6
 
     
 
เมื่อใช้กับรังถ่านแบบ AA 2 ก้อน
 
 
 
     
 
 
     
 
 
 
เลือกรุ่นที่มีสวิทช์ในตัวทำให้สะดวกดี
 
     
 
 
 
 
  เมื่อใช้กับรังถ่านแบบลิเธียม 2032  
 
 
 
ถ่านลิเธียมขนาด 2032
 
     
 
 
 
ถ่านลิเธียมขนาด 20xx
 
     
 
 
 
สวิทช์เล็กๆ
 
     
 
 
 
การบัดกรี สวิทช์เข้ากับ PCB
 
 
 
 
การบัดกรี รังถ่านลิเธียมเข้ากับ PCB
 
     
 
 
  การทำโพร้บแบบต่างๆ  
 
 
 
การทำโพร้บแบบตรง
 
     
 
 
 
การทำโพร้บแบบเป็นคอยล์
 
     
  การทดลอง การทดสอบกระแสไฟฟ้ารั่วในน้ำ  
 
     
  คำเตือนการทดลองนี้ อาจเป็นอันตราย ขอให้ทดลองด้วยความระมัดระวัง  
  ผู้ที่ไม่มีความชำนาญ ไม่ควรทดลองตามลำพัง  
  การทดลองนี้ศึกษาขึ้นเพื่อหาข้อมูล ที่ใช้ในการตรวจสอบ เด็กๆ และเยาวชน ไม่ควรนำมาทดลองเอง โดยเด็ดขาด เพราะทักษะในการ ระมัดมะวัง อาจยังมีไม่มากพอ  
 
     
 
     
 
 
     
 
การนำโพร้บออกมาด้านนอกเพื่อสัมผัสกับน้ำ
 
     
 
http://www.youtube.com/watch?v=Ee9w8zkk1w0&feature=player_embedded
 
   
     
   
     
 
 
 
 

แบบไม่มีส่วนสัมผัสในน้ำ
นำสายไฟพันเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 cm จำนวน 12 รอบ

การใช้งาน ขดลวดจะต้องแนบกับก้นถ้วย

 
     
 
 
 
การทดสอบกระแสไฟฟ้ารั่วในน้ำ
 
 
 
  การตรวจสอบความต่อเนื่อง เช่นหลอดไฟ  
 
 
 
การบัดกรีจุดสัมผัสที่ขั้วบวก ไว้ตรวจสอบความต่อเนื่อง
 
     
 
 
 
จับหลอดไฟตรงเกลียวด้วยมือซ้าย
จับเครื่องวัดด้วยมือขวา โดยใช้นิ้วชี้จับที่จุดสัมผัส ขั้วบวกที่ทำไว้
ใช้ปลายโพร้บแตะที่ขั้วหลอดไฟ หากหลอดไฟไม่ขาด LED จะติด
 
     
  การตรวจไฟรั่วในน้ำ แบบสองจุด  
     
 
     
  SMITDH EMSOMBAT ศมิทธิ์ เอมสมบัติ
     
 
 
ศมิทธิ์ เอมสมบัติ