Thaimicrotron.com : Home | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีการทำ
PCB โดยใช้
Dry film |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- วิธีการทำ PCB โดยใช้ dry film เป็นวิธีการที่รวดเร็ว และสามารถทำ PCB ที่มีเส้นขนาดเล็กๆ ได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- Dry film เป็นฟิล์มที่ไว้ต่อแสง UV ครับ สามารถทำงาน ที่มีแสงไฟ ในห้องปกติได้ แต่เป็นไฟเพดานนะครับ ไม่ใช่โคมไฟบนโต๊ะ แต่ก็ไม่ควรทิ้งไว้นานๆ ครับจะทำให้ฟิล์มเสียได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำตัวช่วยจับเพื่อลอกแผ่นพลาสติก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- เวลาปิด dry film ระวังเรื่องความสะอาดด้วยครับอย่าให้มีเศษฝุ่น หรือฟองอากาศ หากมีฟองอากาศ มากเกินไป ก็ให้ลอกแล้วปิดใหม่ ถ้ามีน้อย ก็พอไว้ครับ ใช้เข็มเจาะเอา แล้วรีดให้เรียบอีกครั้ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- อุปกรณ์สำหรับฉายแสง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลอดไฟที่ใช้ฉายแสงเป็นหลอดไฟประเภทใดก็ได้
แต่ควรเป็นหลอดที่มีแสง UV ครับ (เพราะจะใช้เวลาเร็วกว่ากันเยอะ) เช่น - หลอดไฟสำหรับดักยุง - หลอดไฟ black light - หรือหลอดไฟแบบไส้ที่มีความเข็มสูงเช่นหลอด spot light แต่ต้องใช้ขนาด100 W ครับถึงจะพอ เวลาฉายให้ห่างประมาณ 1 ฟุต ใช้เวลาฉายแสง ประมาณ 20 นาที - หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออนบ้านเราก็ใช้ได้ แต่ใช้เวลามากหน่อย ประมาณ 30-45 นาที - นำไปตากแสงแดดก็ได้ จะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีขึ้นไป แต่การควบคุมแสงจะทำได้ยาก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลังจากนั้นนำแผ่น PCB มาลอกเอาพลาสติกอีกด้านออก แล้วนำไปล้างน้ำยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- อุปกรณ์สำหรับล้าง Dry film | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- น้ำยา Developer (โซเดียมคาร์บอเนต ) ผสมในอัตราส่วน 5 gm ต่อน้ำ 500 cc (หรือ10 gm ต่อน้ำ1 ลิตร) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- ถาดใส่น้ำยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- ฟองน้ำนุ่มๆ ชิ้นเล็กๆ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- แปรงขนอ่อน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เก็บน้ำยา Developer
ที่ใช้แล้ว สามารถนำมาใช้ได้อีก จนกว่าจะเป็นเมือกๆ มาก หรือแช่แล้วกัดไม่
ออก ค่อยทิ้ง โดยเก็บไว้ในขวดที่มีฝาปิดสนิท เพราะ ส่วนใหญ่จะใช้ Developer หมดก่อน Dryfilm ซะอีก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นำไปกัดกรด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
PCB ที่กัดกรดเสร็จแล้ว จะเห็นว่าได้งานที่เรียบร้อย กัด track เส้นเล็กๆ ได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- หากส่วนที่เส้นใกล้ๆกันยังติดกันอยู่ให้ใช้เหล็กปลายแหลมขูดออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- ส่วนที่ขาดหรือเป็นรูพรุ่นๆ ให้นำปากาเขียนแผ่นใส เติมส่วนที่ขาด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ล้าง dryfilm ออกด้วย วิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- ขัดด้วยใยขัด โดยชุปน้ำยาล้างจานเล็กน้อย โดยขณะที่ขัด ปล่อยให้น้ำก็อก ไหลผ่านเล็กน้อย เพื่อให้ส่วนที่หลุด ไหลตามน้ำไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- ใช้ทินเนอร์เช็ดออก แล้วล้างด้วย น้ำยาล้างจาน อีกที | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- ล้างด้วย โซดาไฟ โดยผสม 10 gm ต่อน้ำ 1 ลิตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นตอนสุดท้าย เคลือบด้วย Clear Lacquer เพื่อป้องกันทองแดงหมอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Note: | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- การฉายแสงระยะยิ่งใกล้ ยิ่งใช้เวลาเร็วขึ้น หากใช้
negative film ที่เป็น film จริงๆ อย่างที่มืออาชีพเค้าใช้ จะดำสนิท
สามารถฉายแสงได้นานหน่อย ทำให้ เส้นลายปริ้น คมชัดไม่ค่อยหลุด และส่วนที่ไม่โดนแสง
จะล้างออกง่าย - โดยมากเราพวกมือสมัครเล่น จะทำฟิมล์ แบบ negative โดยใช้ Laser Printer หรือ Inkjet โดยปริ้นบนกระดาษไขเขียนแบบ ทำให้ส่วนที่เป็นสีดำ ไม่ทึบพอ (ลองส่องกับแสงดู) จึงไม่ สามารถฉายแสงได้ นานนัก เพราะจะทำให้ ล้างออกยาก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||