Thaimicrotron.com : Home
    page1
 
X10-LAB
 
 
การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามมาตรฐาน X10 ด้วย PIC16F648A
 
     
  เป็นโครงงานที่ใช้ศึกษาการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านสาย AC-Line ด้วยมาตรฐาน X10 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้  
 
  • เพื่อศึกษาโปรโตคอลของ X10 และคำสั่งต่างๆ
  • monitor ข้อมูลที่ปรากฏบนสาย AC-Line พร้อมทั้งส่งเสียง และมีไฟกระพริบเมื่อได้รับคำสั่ง
  • สามารถรับคำสั่งผ่าน RS232 และส่งคำสั่ง ผ่านสาย AC-Line ไปยังอุปกรณ์อื่น
    - ทำให้สามารถเชื่อม เข้ากับระบบ ควบคุมอุปกรณ์ ไฟฟ้าผ่าน network อื่น เช่น RS485 ,TCP/IP โดยผ่าน LAN หรือ Internet
    - สามารถใช้โปรแกรม Application หรือ Browser ในการควบคุมหรือ monitor
  • เป็นแนวทางในการพัฒนาโมดูลอื่นๆ
    - ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ 1 จุด เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของคำสั่งผ่าน RS232 หรือโดยโมดูลอื่น
    - สามารถส่งสัญญาณ 120KHz แบบต่อเนื่องเพื่อใช้ปรับแต่งโมดูลอื่น
    - สามารถปรับความแรงในการส่ง เพื่อศึกษาและพัฒนาภาครับ ให้มีประสิทธิภาพ และทนต่อสัญญาณรบกวนอื่นๆ
 
     
  พิจารณาความสามารถที่ต้องการจากโมดูลมาตรฐาน
 
     
 
 
 
รวมความสามารถของ โมดูลต่างๆไว้บนบอร์ดทดลอง X10LAB
 
     
 
  • X10LAB ได้มีแนวคิดที่จะนำความสามารถจากโมดูลมาตรฐาน
    - CM11U โมดูล Computer Interface-RS232 โมดูลเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
    - X10-4822 ภาคส่ง RF 433 MHz (จะพัฒนาต่อในระยะที่2)
    - 4022 Universal RF Base Transceiver ภาครับ RF 433 MHz (จะพัฒนาต่อในระยะที่2)
    - Appliance Module ชุดควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า 1 จุด
 
     
     
  วงจรชุดทดลองแบ่งออกเป็น 3 ภาคด้วยกันคือ
- 1). ภาครับและภาคส่งสัญญาณผ่านสาย AC-Line
- 2). ภาคควบคุม ด้วย PIC16F628/PIC16F648
- 3). ภาคจ่ายไฟ
 
     
     
  1). ภาครับและภาคส่งสัญญาณผ่านสาย AC-Line  
     
 
 
 
วงจรภาครับ และภาคส่ง X10
 
  การทำงานของภาคส่ง  
  - ภาคส่งประกอบด้วยวงจร OSC ,Q1 BC547 และ L1 ซึ่งเป็น ทรานฟอร์มเมอร์ ที่ใช้ขยายสัญญาณ IF 455 KHz ในภาครับ AM ตัวสีดำ ซึ่งต่อกับ C มีค่าความจุ เท่ากับ 222 (0.002) เพื่อให้ความถี่ต่ำลงเท่ากับ 120KHz เอาต์พุตจากขา C ของ Q1 จะถูกส่งต่อไปยังภาคขยายสัญญาณ Q2 ซึ่งจะผสม สัญญาณ เข้ากับสาย AC ผ่าน L2 ซึ่งเป็น ทรานฟอร์มเมอร์ ที่ใช้ขยายสัญญาณ IF เช่นเดียวกัน ซึ่งการควบคุมวงจร OSC จะถูกควบคุมโดยขา RB0 ผ่าน IC PC-817         VR1 ใช้ปรับแรงดัน ให้ลดลง กรณีส่งสัญญาณ แบบต่อเนื่อง เพื่อใช้ทดสอบโมดูลอื่น ไม่เช่นนั้น Q2 อาจร้อนจัด
 
     
  การทำงานของภาครับ  
  - ภาครับ ในขณะที่ไม่ได้ส่งสัญญาณ L2 จะทำหน้าที่เป็นวงจรจูน และสัญญาณที่ได้จากขา 3 ของ L2 จะถูกขยายและปรับระดับสัญญาณให้มีระดับเดียวกับ TTL โดย U1(4069) เพื่อส่งให้กับ MCU ที่ขา RA1  
  - สัญญาณจะเข้ามาทางขา C ของ Q1 ผ่าน C9 ,R5 (High Pass) ซึ่งถูกป้องกันแรงดันเกินด้วยซีเนอร์ 5 V เข้ามาทางขา 13 ของ U1-1(13,12) ซึ่งต่อไว้กับ R100K เพื่อ pull up .อินพุตไว้ไม่ให้ลอย มีทำหน้าที่ขยายสัญญาณเบื้องต้น และถูกป้อนกลับแบบ negative ที่ขา 13,12 ด้วย R 1M เพื่อควบคุมอัตราขยาย โดยให้เอาพุตออกทางขา 12 ผ่าน C5(102) ทำหน้าที่คับปลิ้งให้เฉพาะสัญญาณ AC ผ่านเท่านั้น
- ส่วน U1-2 (11,10) ซึ่งทำหน้าที่ขายสัญญาณอีกต่อหนึ่ง ที่เอาต์พุตของ U1-2 (ขา10) ถูกต่อไว้กับไดโอด และ C6 ทำหน้าที่เป็น Envelope Detector ซึ่งจะตัดสัญญาณ 120 KHz ทิ้งที่นี่เหลือแต่สัญญาณดิจิตอล และป้อนกลับแบบ negative ด้วย R 1M ไปยังอินพุตที่ขา 11,10
- สัญญาณที่ได้จะผ่านเข้า U1-3 (9,8) ทำหน้าที่ปรับรูปคลื่นให้คมชัดขึ้น
- U1-4 (5,6) ทำหน้าที่กลับเฟสให้ตรงกับที่เราต้องการ

 
  - การปรับแต่งวงจร ให้ถอด J2 ออกก่อน แล้วใช้ AMP มิเตอร์ต่อไว้เพื่อวัดกระแสที่ผ่านจุด J2     ต่อ J1 เพื่อให้ OSC ทำงาน จูนที่คอยล์ L1 แล้ววัดความถี่ที่ขา C ของ Q1 ให้ความถี่ = 120 KHz เสร็จแล้วให้ปรับ VR1 แล้วดูกระแสที่ไหลผ่านขา C ของ Q2 ที่จุด J2 ให้ไม่เกิน 200 ma เสร็จแล้วให้ถอด J1 ออกแล้วต่อ J2 ไว้ตามเดิม
 
     
  2). ภาคควบคุม ด้วย PIC16F628/PIC16F648  
 
 
 
ส่วนควบคุมด้วย MCU
 
     
  ส่วนควบคุมประกอบด้วยMCU PIC16F648A ทำหน้าที่  
  - วิเคราะห์สัญญาณ และแสดงผลผ่าน RS232 โดยใช้ IC MAX232
- รับคำสั่งจาก RS232 และส่งข้อมูลผ่าน AC-Line
- ตรวจสอบการกดปุ่ม ON/OFF เพื่อควบคุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้า ผ่าน RLY1
 
 
 
  3). ภาคจ่ายไฟ  
 
 
  -ภาคจ่ายไฟ และส่วนของวงจรสร้างสัญญาณเพื่อใช้ตรวจสอบจุดตัดศูนย์ (Zero Crossing) โดยใช้ OPAMP 741 ทำหน้าที่เป็นวงจร Schmitt Trigger

 
 
 
 
 
แผนผังของการจัดระดับแรงดันไฟ
 
  PCB และการประกอบอุปกรณ์  
 
SMITDH EMSOMBATศมิทธิ์ เอมสมบัติ