Thaimicrotron.com : Home
 
PIC - In Circuit Programing
 
     
   
   
 
 
 
วงจรโปรแกรม MCU-PIC ให้เป็นแบบ In circuit Programing
 
     
  คุณสมบัติ  
 
  • สามารถโปรแกรมได้แบบอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มโปรแกรมใน EPICWIN และแบบ manual โดยใช้ SW1
  • สามารถใช้เป็น Programing /DownLoader (Emulator) สำหรับ MCU 40pin ,18pin ได้โดยตรง นอกนั้นต้องใช้ PIN Adaptor
  • ใช้ switching Regulator LM2575T ทำให้ต่อแหล่งจ่ายให้กับบอร์ดทดลองภายนอกโดยที่ Regulator ไม่ร้อน โดยเลือกที่ JP6
  • มีจุดต่อออก PORTA ,PORTB และแหล่งจ่ายไฟ ทำให้ทดลองและทำบอร์ดพัฒนาได้ได้ง่าย
  • สำหรับ PIC16F6xx ขา RB4 ซึ่งเป็นขา Low voltage Programing เมื่อบนบอร์ดทดลองต่ออยู่กับ R หรืออุปกรณ์อื่นที่มีระดับสัญญาณเป็น Hight จะทำให้โปรแกรม ไม่ได้ จึงใช้ รีเลย์นำมาต่อกับ R pull down ขณะโปรแกรม
  • สำหรับ PIC16F6xx เมื่อใช้ Internal RC Oscilator (INTRC) และ Interal Master Clear Reset สามาถออกแบบการใช้งาน RA5,RA6,RA7 ได้
  • มี Connector Emulator ขนาด 18pin,40pin เพื่อใช้ เป็น Emulator กับบอร์ดที่พัฒนาโดยใช้สายแพรกับ Connector แบบ IDC20-DIP18 ,IDC40-DIP40
  • OSC1,OSC2 เลือกผ่าน JP3 ,JP4 และ JP5 ว่าจะใช้ XTAL บนบอร์ด ,External Resister (ER) หรือจะใช้เป็น RA6,RA7 (PIC16F6xx) จะถูกนำมาต่อร่วมกันที่ CON4
  • MCLR ต่อกับวงจรรีเซ็ทภายในหรือจะต่อ ออกไปภายนอกโดยเซ็ทที่ JP1 สำหรับ PIC16F6xx MCLR18 สามารถใช้งานเป็น RA5 ได้โดยเซ็ทที่ JP1
 
     
 
  • ขา RB4,RB6,RB7 ,MCLR ของ MCU จะถูกนำมาผ่าน contact ของรีเลย์ก่อนที่จะไปที่ขา Connector Emulator เพื่อที่จะเลือกโหมด RUN/Program นอกนั้นจะต่อไปโดยตรงยัง ขา Emulator
  • ขา MCLR ของ MCU ขนาด 18pin,40pin จะไม่ต่อร่วมกัน แต่จะแบ่งเป็น MCLR18 และ MCLR20 เพราะ PIC16F6xx ขานี้สามรถใช้เป็นขา RA5 ได้
  • สำหรับขา MCU-PIN ให้ใช้ Socket ที่เป็นแบบ TEXTOOLS จะได้ถอดเข้าออกได้ง่าย โดยต่อขาสัญญาณทื่ใช้โปรแกรมเข้ากับขา MCU ตามตารางที่ 1
  • ส่วนขา EMU-PIN ให้นำมาต่อกับ Connector IDC ที่ใช้ต่อไปยังบอร์ดทดลอง
 
     
  การทำงานของวงจร  
 
  • สัญาณต่างๆจาก PC จะผ่านมาทาง CON1 ผ่านบัฟเฟอร์ IC เบอร์ 74LS07 ซึ่งมีเอาต์พุตเป็นแบบ OC ดังนั้นที่เอาต์พุตของ 74LS07 จึงต้องต่อความต้านทานพูลอัพ
  • สัญญาณ VCP ขา 8 ของ U1 จะถูกนำมาขับรีเลย์โดยผ่านทรานซิสเตอร์ Q1 เพื่อเป็นสวิทช์ในการเลือกโหมด RUN/Program ส่วน C5 ทำหน้าที่ หน่วงเวลา ให้รีเลย ์ทำงานนานขึ้นเมื่อได้รับ สัญญาณ VCP
  • สัญญาณ VPP ขา 10 ของ U1 ขับผ่าน Q2 ทางขา C ทำหน้าที่จ่ายไฟ 13V มาที่ขา MCLR/Program ร่วมกับสัญญาณ CLKIN ขา 12 ของ U1 ผ่าน R9 เพื่อเริ่มการโปรแกรม
  • สัญญาณ Program Clock (PGC) ขา 6 ของ U1 ทำหน้าที่เป็นสัญญาณนาฬิกาในการโปรแกรม ผ่านขา RB6
  • สัญญาณ Program Data (PGD) ขา 4 ของ U1 ทำหน้าที่เป็นข้อมูลในการโปรแกรม ผ่านขา RB7
  • C6,C7 ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวนให้กับสัญญาณ PGD,PGD ตามลำดับ
  • R12 (RLX) มีไว้เพื่อลดกระแสที่ไหลผ่านรีเลย์เมื่อเลือกใช้รีเลย์ที่มีแรงดันต่างกัน (ดูเรื่องการเลือกใช้รีเลย์)
 
  การเซ็ทจั๊มเปอร์  
 
  • JP1 สำหรับ MCU 18 pin ว่าจะใช้ขา MCLR เป็น Master Reset หรือ RA5
  • JP2 สำหรับเลือก MCLR ว่าจะต่อกับวงจรรีเซ็ทภายในหรือจะต่อ ออกไปภายนอก
  • JP3,JP4 สำหรับเลือกว่าจะใช้ XTAL บนบอร์ด ,External Resister (ER) หรือจะใช้เป็น RA6,RA7 (PIC16F6xx only)
  • JP5 เลือกต่อกับ VR1 เมื่อ MCU ถุกเซ็ทเป็นโหมด External Resister (ER)
  • JP6 เลือกต่อแหล่งจ่ายให้กับบอร์ดทดลองภายนอก
 
     
     
  การเลือกใช้รีเลย์  
 
 
 
Signal Relay
 
   
 
  • ใช้ Signal Relay ที่ใช้กับสัญญาณโทรศัพท์เพราะมีขนาดเล็กมี 2 contact NO/NC ต้องใช้ทังหมด 3 ตัวโดยนำ coil มาต่อขนานกัน
  • จากการทดลองสามารถใช้รีเลย์ 24V ได้(เพราะจะได้กินกระแสต่ำ) เพราะรุ่น RY24W-K และ RY24W ของ TAKAMISAWA สามารถทำงานได้ที่ 18 V ส่วน R12 (RLX) จะเป็นจั๊มเปอร์แทน (R0โอมห์)
  • หากใช้รีเลย์ 12 V R12 (RLX) จะมีค่าประมาณ 20 โอมห์ 1/2 watt ทั้งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ ชนิดและยี่ห้อที่เลือกใช้
 
     
 
 
 
Prototype ProPIC2.5