Thaimicrotron.com : Home
Developer Board
โดยใช้ connector แบบ ICD2
     
  เนื้อหา  
  - การต่อสายระหว่างตัวโปรแกรม กับบอร์ดทดลอง โดยใช้ Connector แบบ ICD2  
  - การออกแบบวงจรภายในบอร์ดทดลอง  
  - ตัวอย่างการต่อใช้งาน  
     
  การต่อสายระหว่างตัวโปรแกรม กับบอร์ดทดลอง โดยใช้ Connector แบบ ICD2  
   - สายที่ต่อจากบอร์ดโปรแกรมผ่าน connector RJ11-6 ไปยังบอร์ดทดลอง จะกลับด้านกัน มีลักษณะดังรูปที่ 1  
   
 



 
 
รูปที่ 1 วิธีการต่อสายระหว่างตัวโปรแกรม กับบอร์ดทดลอง
 
     
  ตัวอย่างชนิดของสาย  
 
         
 
 
 
สายต่อแบบ RJ11-RJ11
สายต่อแบบ RJ11-SIP6
สายต่อแบบ RJ11-IDC8
 
 
 
     
   ดูตัวอย่างการทำสาย RJ11-ICD2 โดยใช้สายแพร (Ribbon)  
     
  การออกแบบวงจรภายในบอร์ดทดลอง  
  การออกแบบวงจรสำหรับใช้กับ ICD2 จะทำให้ สะดวกในการโปรแกรม  
     
 
 
 
รูปที่ 3 วงจรภายในบอร์ดทดลอง
 
     
  - ทั้ง connector แบบ RJ11-6 และ SIP6 จะมีขาใช้งานที่เรียงลำดับตรงกัน
- ขา MCLR จะต่อ diode 1N4148 เพื่อป้องกันไม่ให้แรงดัน VPP (13V) ขณะโปรแกรมเข้าสู่แรงจ่ายไฟของบอร์ด
- ขา RB6, RB7 จะถูกต่อเข้ากับ SW1 ซึ่งเป็นสวิทช์สองทาง 4 ชุด (ใช้ 3 ชุด) เพื่อเลือก การทำงานขณะ Program และ RUN
- *** กรณีที่ไม่ใช้ขา RB6, RB7 ในการทดลอง สามารถต่อตรงกับ connector ICD2 ได้เลย ทำให้เวลา Program ไม่ต้องกดสวิทช์ หริือ นำไปใช้งานอื่นได้ แต่ต้องเป็น ลักษณะเป็น pull down
- บอร์ดทดลองสามารถใช้ไฟเลี้ยงจาก USB พอร์ตได้ ขณะทดลอง ถึงแม้ว่า USB พอร์ตสามารถจ่ายกระแสได้่ 500 ma แต่ก็ไม่ควรใช้กระแสเกิน 200 ma และไม่ควรใช้กับบอร์ดที่มีคอนเดนเซอร์ที่มีความจุสูง อยู่บนบอร์ด เพราะจะทำให้แรงดันตกลง ตัวโปรแกรมจะหยุดจ่ายไฟไปยังบอร์ดทดลอง
- J1 เป็น Jumper สำหรับใช้เลือกว่า จะใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอกหรือจาก USB พอร์ต เพื่อป้องกันไม่ให้ แรงดันจาก USB พอร์ต ย้อนเข้าสู่ Regulator เมื่อไม่ได้ป้อนแรงดันภายนอก
- ขา PGM (RB3 สำหรับ PIC16F8XX ,RB4 สำหรับ PIC16F6XX และ RB5 สำหรับ PIC18) เป็นขาที่สามารถโปรแกรมด้วยแรงดันต่ำได้ (Low voltage programing ) หากมีแรงดันเป็น High จะไม่สามรถโปรแกรมได้ จะต้องต่อ กับ R pulldown ในขณะโปรแกรม
 
   
  - PIC-MCU แต่ละเบอร์ จะมีตำแหน่งของขา ที่ใช้ในการโปรแกรม ไม่เหมือนกัน
- กรณีใช้เบอร์อื่น นอกจากนี้ ให้ดูตำแหน่งของขา ในการโปรแกรม จากคู่มือ
 
 
 
 
รูปที่ 2 การต่อสายสัญญาณกับ PIC MCU ที่ใช้บ่อยๆ
 
     
     
  ตัวอย่างการใช้งาน  
  - สำหรับอร์ดที่ออกแบบ connector ICD2 แบบ RJ11-6 ให้ใช้สายต่อแบบ RJ11-RJ11  
  - กรณีใช้กับบอร์ดเอนกประสงค์ หรือโปรโตบอร์ด Connector แบบ RJ11-6 ไม่สามารถลงบนบอร์ดได้ จะต้องออกแบบให้ใช้ Connector แบบ SIP-6  
     
 
       
       
 
 
บอร์ดที่ออกแบบมามี ICD2 - RJ11
กรณีใช้บอร์ดเอนกประสงค์
กรณีใช้กับโปรโตบอร์ด
       
 
 
     
  RJ11-6 adaptor เพื่อให้ทดลองกับโปรโตบอร์ดได้  
 
       
 
 
 
RJ11-6 adaptor
กรณีใช้ RJ11-16 กับโปรโตบอร์ด
 
 
     
  NOTE:  
  กรณีบอร์ดทดลองโปรโตบอร์ด เพื่อความสะดวก สามารถใช้ไฟจาก พอร์ต USB ได้แต่ ไม่ควรใช้คอนเดนเซอร์ ที่มีความจุสูง ต่อไว้ที่ +5V กับ GND เพราะจะทำให้ ระดับแรงดันตก และเกิด voltage level error ขึ้น ให้ใช้ ประมาณ 4.7U-10U ก็พอ  
     
     
 
     
  SMITDH EMSOMBAT ศมิทธิ์ เอมสมบัติ